รู้รักสามัคคี ทำความดีเพื่อความสงบสุขของสังคม  สถานีตำรวจนครบาลมีนบุรี 

S 28426313
สถานีตำรวจนครบาลมีนบุรีในอดีตนั้นเดิมเป็นกองโปลิศ หรือกรมกองตระเวนในต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ดำเนินการในลักษณะต่อเนื่องจากรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กล่าวคือ ได้มีการว่าจ้างนายตำรวจจากประเทศในตะวันตกบ้าง อินเดียบ้าง มลายบ้าง พม่าบ้าง ส่วนนายสิบและพลตำรวจ โดยมากเป็นชาวอินเดียบ้าง มลายูบ้าง จีนบ้าง ทำหน้าที่คอยรักษาความปกติสุขของพระนครให้พ้นจากมิจฉาชีพต่อมาพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นนเศร์วรฤทธิ์ ได้นำโครงการจัดระบบกรมกองตระเวน(ตำรวจนครบาล) ขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในวันที่๒๖ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๓๓ (ปีที่ ๒๓ ในรัชกาลที่ ๕)โครงการจัดระบบกรมกองตระเวน (ตำรวจนครบาล) มีการจัดให้ใกล้กับระบบตำรวจอังกฤษโดยกรมกองตระเวน (ตำรวจนครบาล) มีหน้าที่จัดกิจการตำรวจนครบาลในกรุงเทพฯมีการแบ่งพื้นที่ทางบกและทางน้ำ มีที่ทำงานแต่ละเขตหรือว่าโรงพักแต่ละโรงพัก จัดสายตรวจไปประจำสถานที่ต่าง ๆ พร้อมกำหนดระเบียบให้สายตรวจหรือกรมตระเวรถือปฏิบัติในการปราบปรามโจรผู้ร้ายปี พ.ศ.๒๔๔๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ตั้งเมืองมีนบุรี มีหม่อมเจ้าสง่างามสุประดิษฐ์ เป็นข้าหลวงรักษาราชการตั้งแต่ วันที่ ๑ กันยายน ร.ศ.๑๒๑ พร้อมกันนี้ได้สร้างอาคารชั่วคราวโรงพักพลตระเวนเมืองมีนบุรีขึ้นใกล้ ๆ กับจวนผู้ว่าฯพ.ศ.๒๔๖๓ ทรงพระราชทานที่ดินเพื่อใช้เป็นสถานที่ก่อตั้งหน่วยราซการของเมืองมีนบุรี พ.ศ.๒๔๗๓ ก่อสร้างสถานีตำรวจนครบาลมีนบุรี ซึ่งเป็นอาคารเรือนไม้สัก  สถานที่ตั้งเลขที่ ๕๗ หมู่ที่๒ ถนนสีหบุรานุกิจ แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรีIMG 0768

  • พ.ศ.๒๕๒๒ ได้ยกฐานะจากสถานีตำรวจชั้นสารวัตรเป็นสถานีตำรวจสารวัตรใหญ่
  • พ.ศ.๒๕๓๓ สร้างสถานีตำรวจนครบาลมีนบุรีหลังใหม่ขึ้น เป็นตึก ๓ ชั้น ตั้งอยู่ริมถนนสีหบุรานุกิจ และถนนร่มเกล้า อยู่ด้านทิศตะวันออกของสถานีตำรวจหลังเก่า
  • พ.ศ.๒๕๓๗ ยกฐานะจากสถานีตำรวจที่มีสารวัตรใหญ่เป็นหัวหน้าสถานี เป็นสถานีตำรวจที่มีผู้กำกับการเป็นหัวหน้าสถานี จนถึงปัจจุบัน และได้เปลี่ยนที่ตั้งเป็น เลขที่ 345 ถนนสีหบุรานุกิจ เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร ๑๐๕๑๐